วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Students' Perceptions of Online Learning



Students’ Perceptions of Online Learning
Aytekin Isman
Zehra Altinay Gazi
Fahriye Altinay Aksal

ปิยมนัส วรวิทย์รัตนกุล นำเสนอ

บทนำ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการรับรู้ของผู้เรียนในการได้รับประสบการณ์การเรียนแบบออนไลน์ มีคำถามการวิจัย 4 ข้อคือ
1. ผู้เรียนออนไลน์มีความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ในการเรียนแบบออนไลน์อย่างไร
2. ผู้เรียนออนไลน์เปรียบเทียบการเรียนแบบออนไลน์กับการเรียนแบบชั้นเรียนปกติอย่างไร
3. ผู้เรียนออนไลน์มีความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีต่อการเรียนแบบออนไลน์อย่างไร
4. วัฒนธรรม ภาษาและภูมิหลัง ส่งผลต่อประสบการณ์ในการเรียนแบบออนไลน์มากน้อยเพียงใด

วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เรียนออนไลน์จำนวน 12 คน ได้มาโดยสมัครใจ จากหลายวัฒนธรรม เช่น คาซัดสถาน โซมาเลีย จอร์แดน ตุรกี ไซปรัส

ผลการวิจัย
มุมมองในการเรียนแบบออนไลน์ของผู้เรียน
ผู้เรียนคนที่ 1 ได้นิยามการเรียนแบบออนไลน์ว่า เป็นโปรแกรมการสอนสำหรับคนจำนวนมาก ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้าเรียนพร้อมกันได้หลายคน และง่ายในการเรียน การเข้าใจสื่อการเรียน นอกจากนี้ผู้เรียนคนอื่นๆ ก็ให้คำนิยามที่หลากหลายกันออกไปเช่น
“ ระบบสำหรับการเข้าเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต มีทางในการติดต่อสื่อสารที่หลากหลาย”
“การเข้าเรียนที่ได้ใช้สื่อการเรียนที่หลากหลาย เป็นวิธีการการศึกษาแบบใหม่ในโลก และช่วยให้นักเรียนจำนวนมากพัฒนาความรู้และความสามารถ”

การเปรียบเทียบการเรียนแบบออนไลน์กับการเรียนแบบชั้นเรียนปกติของผู้เรียน
ผู้เรียนคนที่ 1 เปรียบเทียบการเรียนแบบออนไลน์กับการเรียนแบบชั้นเรียนปกติว่าการเรียนแบบออนไลน์จะช่วยทำให้ประหยัดเวลา
ผู้เรียนคนที่ 2 กล่าวว่า “บางครั้งการเรียนในชั้นเรียนก็เป็นสิ่งดี ถ้ามีคำถามก็สามารถถามได้โดยตรง แต่ในการเรียนแบบออนไลน์ส่วนใหญ่อยู่กับตัวเองแม้ว่าจะสามารถติดต่อกับครูผ่านทาง อีเมลได้รู้สึกว่าการเรียนแบบชั้นเรียนปกติมีข้อได้เปรียบกว่าการเรียนแบบออนไลน์”
ผู้เรียนคนที่ 3 เน้นที่ความแตกต่างระหว่างการเรียนแบบชั้นเรียนปกติและแบบออนไลน์
ผู้เรียนคนที่ 4 คิดว่าการเรียนแบบออนไลน์เป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
ผู้เรียนคนที่ 5 กล่าวว่า “การเรียนแบบปกติสามารถถามคำถามผู้สอนได้ตลอดเวลาโดยตรงในชั้นเรียน แต่ในการเรียนแบบทางไกลมันยากที่ต้องเรียนหรือค้นหาความรู้ตามลำพัง
ผู้เรียนคนที่ 6, 7, 8 และ 9 ระบุว่าการเรียนแบบชั้นเรียนปกติเป็นกระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์มากกว่า ผู้เรียนแต่ละคนมีโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับทั้งผู้สอนและเพื่อนผู้เรียน
ผู้เรียนคนที่ 10, 11 และ 12 กล่าวถึงเรื่องเด่นของประสิทธิผลของการเรียนแบบชั้นเรียนปกติ เพราะว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน

ผลกระทบของวัฒนธรรมที่มีต่อประสบการณ์การเรียนแบบออนไลน์
ผู้เรียนมีความเห็นว่าวัฒนธรรมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อการรับรู้และประสบการณ์การเรียนแบบออนไลน์ ผู้เรียนมีความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของวัฒนธรรมในหลายๆ ด้าน เช่น
“วัฒนธรรม ภาษา และภูมิหลัง ส่งผลต่อความเข้าใจในการเรียนแบบออนไลน์”
“วัฒนธรรม ภาษา และภูมิหลัง ส่งผลต่อความสามารถในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต”
“วัฒนธรรม ภาษา และภูมิหลัง เป็นข้อจำกัดความเข้าใจของผู้เรียน”

ผลกระทบที่มีต่อประสบการณ์การเรียนแบบออนไลน์
ผู้เรียนเห็นด้วยว่าการใช้ภาษาอังกฤษในกาเรียนแบบออนไลน์และการมีความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมทำให้มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการเรียนแบบออนไลน์ที่จะประสบความสำเร็จ
“ปัญหาหลักคือ ภาษา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นข้อจำกัดของความเข้าใจ”
“ปัญหาในการติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์เป็นผลมาจากความแตกต่างของวัฒนธรรมซึ่งเป็นเรื่องของความเข้าใจ”
“การออกแบบหน้าเว็บอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะลดความแตกต่างของความเข้าใจ”


การอภิปรายและสรุปผล
ข้อค้นพบของการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงจากการเรียนแบบชั้นเรียนปกติไปสู่การเรียนแบบออนไลน์ ส่งผลต่อความเข้าใจ การเรียนแบบออนไลน์ต้องการคุณสมบัติของผู้เรียนที่มีการตอบสนองต่อตนเอง การจูงใจตนเอง และความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับผู้สอนและเพื่อนผู้เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นผลมาจากคุณภาพของผู้เรียนแต่ละคนและภูมิหลังทางวัฒนธรรม ปัจจัยเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการบูรณาการเพื่อลดความแตกต่างระหว่างผู้เรียนเพื่อให้หลักสูตรการเรียนแบบออนไลน์ประสบความสำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น